วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การนำเสนอเรื่อง กราฟิก M.4/11 No.33,40,46


ประวัติและความเป็นมาของกราฟิก

             การสื่อความหมายระหว่างมนุษย์เป็นกิจกรรมทางสังคมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมาย และมีความแตกต่างกันตามความเจริญของสังคมมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย
             มนุษย์ยุคเริ่มแรกยังไม่มีภาษาและสัญลักษณ์ จึงใช้ของจริงและสภาวะจริงรอบตัวในการสื่อความหมายต่อกัน เช่น   การบอกแหล่งอาศัยของสัตว์ จะใช้วิธีวิ่งนำหน้าเพื่อนไปยังแหล่งที่มีสัตว์อยู่ แล้วชี้ให้เห็น   วิธีการนี้จะยุ่งยากและเยิ่นเย้อเพราะไม่มีสัญลักษณ์หรือเครื่องมือช่วยย่อให้กระบวนการสื่อความหมายสั้นและกระชับ
             จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ พบว่า เมื่อประมาณล้านปีมาแล้ว มนุษย์โฮโมอีเร็คทุส ( Homo Erectus )   ซึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ลำตัวตั้งตรง ยังไม่มีภาษาใช้ ได้ใช้ท่าทางและสิ่งของตามธรรมชาติ เช่น ก้อนหิน กิ่งไม้   และกระดูกสัตว์ต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายต่อกัน เช่น การสื่อความหมายถึงแหล่งล่าสัตว์ชนิดใด จะทำโดยการยกชูกระดูกของสัตว์ชนิดนั้น แล้วชี้ไปยังทิศทางที่มีสัตว์ชนิดนั้นอาศัยอยู่

สรุป : มนุษย์ยุคเริ่มแรกยังไม่มีภาษาและสัญลักษณ์ จึงใช้ของจริงและสภาวะจริงรอบตัวในการสื่อความหมายต่อกัน และ การสื่อความหมายระหว่างมนุษย์เป็นกิจกรรมทางสังคมของมนุษย์มาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ มนุษย์รู้จักใช้เครื่องมือที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมาย และมีความแตกต่างกันตามความเจริญของสังคมมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย

 บทบาทและความสำคัญของกราฟิก

          งานกราฟิกต่าง ๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์  เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน   ด้วยคุณสมบัติที่ดีของงานกราฟิกทำให้งานกราฟิกมีบทบาทสำคัญในการลดข้อจำกัดต่าง ๆ  ที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนเวลา  ประสิทธิภาพของการคิด   การบันทึกและการจำ   ทำให้การสื่อความหมายต่อกันของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   และด้วยความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ   ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นและความเป็นโลกไร้พรมแดน  ความแตกต่างระหว่างบุคคล  เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้มนุษย์จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับงานกราฟิกมากขึ้น         
          1)  ความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ     มนุษย์ประสบความสำเร็จในการค้นพบความจริง และกระบวนการทางธรรมชาติมากมาย  ความรู้ที่ค้นพบใหม่นี้  ต้องการวิธีการและกระบวนการในการเก็บบันทึก  การจำ  และเผยแพร่  การใช้งานกราฟิกช่วยจะทำให้ได้ข้อมูลที่สามารถสื่อสารความหมายให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว  สื่อความคิดถึงกันและกันได้ชัดเจนถูกต้อง  เพิ่มประสิทธิภาพให้กับการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน
             2)  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี   เทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้เกิดเครื่องมือสำหรับสร้างงานกราฟิกที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น  สามารถผลิตงานได้ รวดเร็ว  มีปริมาณมาก  ง่ายต่อการใช้งาน  ราคาถูกลง  และเผยแพร่ได้สะดวกกว้างไกล โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานกราฟิก และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์  ความนิยมใช้งานกราฟิกช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท

          3)  จำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และความเป็นโลกไร้พรมแดน  ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว  การคมนาคมที่สามารถเดินทางไปทั่วทุกมุมโลกด้วยเวลาไม่มากนัก  และ การสื่อสารที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก  ทำให้เกิดความจำเป็นต่อการสื่อความหมายทางไกลระหว่างบุคคล และการสื่อความหมายกับประชากรกลุ่มใหญ่ในมุมต่าง ๆ ของโลก  เพื่อดำเนินการถ่ายทอดความรู้  แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม  ความร่วมมือทางวิชาการ  ธุรกิจ และอื่น ๆ ทุกสิ่งทุกอย่างต้องดำเนินการด้วยข้อจำกัดของเงื่อนเวลาและประสิทธิภาพของการสื่อความหมาย  งานกราฟิกจึงเป็นเครื่องผ่อนแรงให้การสื่อความหมาย  สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่ายและถูกต้องในเวลาสั้น

          4)  ความแตกต่างระว่างบุคคล  บุคคลแต่ละคนมีความแตกต่างกันในด้านต่าง ๆ เช่น ความคิด  ความเข้าใจ  ความสามารถ  อัตราการเรียนรู้  วิธีการเรียนรู้ และอื่น ๆ  ความแตกต่างเหล่านี้ทำให้การสื่อความหมายด้วยภาษาพูดและภาษาเขียนในบางครั้งไม่สามารถสร้างความเข้าใจได้ง่ายนัก  การใช้งานกราฟิกเข้าช่วยจะทำให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย  เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดี


สรุป : งานกราฟิกต่าง ๆ  ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แทนแก่นสารของประสบการณ์สำหรับมนุษย์  เพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นสื่อในการคิดและสื่อสารความหมายถึงกัน และยังมีบทบาทอีกหลายๆอย่าง เช่น ใช่เป็นสื่อในการศึกษา ใช่ในการสื่อสารเพื่อทำให้เขาใจมากขึ้น เป็นต้น


แหล่งอ้างอิง : http://www.rayongwit.ac.th/graphicweb/page/unit1-2.html

 ความหมายเกี่ยวกับกราฟิก
           กราฟิก (Graphic) ที่มาของคำว่า กราฟิก มาจากภาษากรีก คือ
          - Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
          - Graphein หมายถึง การเขียน
1.ความหมายของกราฟิก
มีผู้ให้ความหมายของ "กราฟิก" ไว้หลายประการด้วยกัน ดังนี้ คือ

      - เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่แสดงออกด้วยความคิดอ่านโดยใช้เส้น รูปภาพ ภาพเขียนหยาบๆ ไดอะแกรม ฯลฯ
      - การสื่อความหมายด้านการใช้ภาพวาด ภาพสเกต แผนภาพ การถ่ายภาพ และอื่นๆ ที่ต้องอาศัยศิลปะและศาสตร์ เข้ามาช่วยเพื่อทำให้ผู้ดูเกิดความคิดและการตีความหมายได้ตรงตามที่ผู้ส่งสารต้องการเช่นแผนภูมิ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน

       - เป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่แสดงความคิดด้วยการใช้เส้น มาจากภาษากรีก ซึ่งแปลว่า "To Write"
       - วัสดุที่เกิดจากการวาดและการเขียนงานออกแบบต่างๆ ในสิ่งที่เป็นวัสดุ 2 มิติ มีความกว้างและความยาวเท่ากัน อันได้แก่ งานสถาปนิกในการเขียนแปลนบ้าน การเขียนภาพเหมือนของจิตรกร การออกแบบโฆษณาของช่างออกแบบ
      - เป็นศิลปะหรือศาสตร์ในการเขียนภาพลายเส้น 
      - รวมไปถึงการพิมพ์ การแกะสลัก การถ่ายภาพ และการจัดทำหนังสือ

สรุปความหมายของ "กราฟิก"
        กราฟิก หมายถึง การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ทั้งสีและขาว-ดำ ซึ่งมีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

ความหมายของ "คอมพิวเตอร์กราฟิก"
         คอมพิวเตอร์กราฟิก หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกโดยใช้คอมพิวเตอร์ซึ่งการพัฒนา

คอมพิวเตอร์กราฟิกเริ่มต้นมาจากการเป็น เทคนิคอย่างหนึ่งในการแสดงข้อมูลตัวเลขจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปที่ชัดเจนกว่าเดิมและทำความเข้าใจได้ง่ายกว่าเดิม เช่น ข้อมูลอาจแสดงได้ในรูปของเส้นกราฟิก

แผนภาพ แผนภูมิแทนที่จะเป็นตารางของตัวเลข จากนั้นการใช้ภาพกราฟิกแสดงผลแทนข้อมูลหรือข่าวสาร

ที่ยุ่งยากก็มีการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ปัจจุบันมีการใช้ภาพกราฟิกในงานทุกๆ ด้านไม่ว่า ด้านธุรกิจ โรงงานอุตสาหกรรม งานศิลปะ การบันเทิง งานโฆษณา การศึกษา การวิจัย การฝึกอบรม และงานทางการแพทย์ จนเห็นได้ชัดเจนว่า คอมพิวเตอร์กราฟิก นั้นเริ่มมีความสำคัญ        เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่สามารถช่วยงานในการออกแบบทางด้านกราฟิกให้เป็ฯไปอย่างรวดรเร็วสะดวก ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือจำนวนมาก อีกทั้งผู้ออกแบบเองก็สามารถดูผลงานการออกแบบของตนเองได้ทันที




สรุป : กราฟิก หมายถึง การสื่อความหมายด้วยการใช้ศิลปะและศาสตร์ทางการใช้เส้น ภาพวาด ภาพเขียน แผนภาพ ตลอดจนสัญลักษณ์ทั้งสีและขาว-ดำ ซึ่งมีลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ทันที ตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ

แหล่งอ้างอิง : http://howtophotoshop.exteen.com/20110315/entry


ประเภทของภาพกราฟิก

 1.ภาพราสเตอร์ (Raster )

               หรือเรียกว่าภาพแบบ Bitmap ก็ได้ เป็นภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล (pixels)  ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพน้อย เวลาขยายภาพให้ใหญ่ขึ้น จะมองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลให้กับภาพมาก ก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่  ดังนั้นการกำหนดจำนวนพิกเซลต้องให้เหมาะกับงานที่จะสร้าง

     ตัวอย่าง

               -  ภาพใช้งานทั่ว ๆไป ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 100-150 Pixel
               -  ภาพที่ใช้บนเว็บไซต์ ให้กำหนดพิกเซล ประมาณ 72 Pixel
               -  ถ้าเป็นภาพแบบงานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่
                  จะกำหนดพิกเซลประมาณ 300-350 Pixel
    ข้อดีของภาพชนิด Raster
               -  สามารถแก้ไขปรับแต่งได้
               -  ตกแต่งภาพได้ง่ายและสวยงาม


2.ภาพแบบ Vector
               เป็นภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มภาพมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบ Raster
      
       ข้อดีของภาพชนิด Vector
       -  นิยมนำไปใช้ในด้านสถาปัตย์ตกแต่งภายในและการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก้ การสร้างการ์ตูน

      โปรแกรมที่นิยมนำมาสร้างภาพแบบ Vector
        -  โปรแกรม Illustrator
        -  CorelDraw
        -  AutoCAD
        -  3Ds max ฯลฯ


สรุป : ประเภทของกราฟิกมีสองประเภท หนึ่งคือ  ภาพราสเตอร์คือ ภาพที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล
สองคือ Vectorคือ ภาพที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน


หลักการทำงานและการแสดงผลของภาพกราฟิก

            คอมพิวเตอร์กราฟฟิก คือ การสร้าง การตกแต่งแก้ไข หรือการจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น การทำ Image Retouching ภาพคนแก่ให้มีวัยที่เด็กขึ้น การสร้างภาพตามจินตนาการ และการใช้ภาพกราฟิกในการนำเสนอข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายได้ตรงตามที่ผู้สื่อสาร ต้องการและน่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยกราฟ แผนภูมิ แผนกราฟิกแบบ 2 มิติ (2 Dimension : 2D) เป็นภาพที่คุ้นเคยและพบเห็นโดยทั่วไป เช่น ภาพถ่าย ภาพวาด ภาพลายเส้น สัญลักษณ์ กราฟ รวมถึงการ์ตูนต่างๆ ในโทรทัศน์
ดังนั้น กราฟิกแบบ 2 มิติ คือ ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ โดยมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ สามารถมองเห็นตามแนวแกน X(ความกว้าง) กับ แกน Y(ความยาว)
ภาพที่เกิดบนจอคอมพิวเตอร์ เกิดจากการทำงานของโหมดสี RGB ซึ่งประกอบด้วยสีแดง (Red) สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) โดยใช้หลักการยิงประจุไฟฟ้าให้เกิดการเปล่งแสงของสีทั้ง 3 สี มาผสมกันทำให้เกิดเป็นจุดสีสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) โดยพิกเซลจะมีหลากหลายสี เมื่อนำมาวางต่อเป็นรูปภาพ ซึ่งภาพที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท คือ แบบ Raster และแบบ Vector
หลักการของกราฟิกแบบ Raster
                  หลักการของกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล ในการสร้างภาพกราฟิกจะต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หรือถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลมากก็จะทำให้แฟ้มภาพมีขนาดใหญ่
ดังนั้นการกำหนดพิกเซลควรกำหนดให้เหมาะสมกับงานที่สร้าง คือ
•  การใช้งานทั่ว ๆ ไป กำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 100-150 ppi (Pixel/inch) หรือจำนวนพิกเซลต่อ 1 ตารางนิ้ว
•  งานที่ต้องการความละเอียดน้อยและแฟ้มภาพมีขนาดเล็ก เช่น ภาพสำหรับใช้กับเว็บไซต์จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 72 ppi
•  งานพิมพ์ เช่น นิตยสาร โปสเตอร์ขนาดใหญ่ จะกำหนดจำนวนพิกเซลประมาณ 300-350
ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Raster คือ สามารถแก้ไขปรับแต่งสีตกแต่งภาพ ได้ง่ายและสวยงาม โปรแกรมที่นิยมใช้ คือ Paint, Adobe Photoshop
หลักการของกราฟิกแบบ Vector
        เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน แยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง แฟ้มมีขนาดเล็กกว่าแบบ Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector นิยมใช้เพื่องานสถาปัตย์ตกแต่งภายใน และการออกแบบต่าง ๆ เช่น การออกแบบอาคาร การออกแบบรถยนต์ การสร้างโลโก การสร้างการ์ตูน เป็นต้น โปรแกรมที่นิยม คือ โปรแกรม Illustrator , CorelDraw , AutoCAD , 3Ds max
ข้อดีของภาพกราฟิกแบบ Vector คือ เมื่อทำการขยายภาพที่วาดแล้ว ภาพจะยังคงความละเอียดเสมอ
พิกเซล (Pixel) คือ จุดหนึ่งจุดในหน้าจอ ซึ่งถ้าตั้งค่าพิกเซลมาก จะทำให้ภาพที่เราสร้างขึ้นมีความละเอียดของสีเพิ่มขึ้น แต่ก็จะทำให้ไฟล์ภาพใหญ่ตามไปด้วย
การตั้งค่าไฟล์ หากต้องการสร้างไฟล์ที่ต้องการให้แสดงผลทางหน้าจอเพียงอย่างเดียว เช่น การออกแบบเว็บไซต์ ให้ตั้งค่าประมาณ 72 pixel/Inc แต่ถ้าต้องการพิมพ์ออกมาทางเครื่องพิมพ์ ควรตั้งค่า ประมาณ 300 pixel/Inc



สรุป : หลักการของกราฟิกแบบ Raster หรือแบบ Bitmap เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวกันของจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี ซึ่งเรียกจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ นี้ว่าพิกเซล การแสดงผลต้องกำหนดจำนวนของพิกเซลให้กับภาพที่ต้องการสร้าง ถ้ากำหนดจำนวนพิกเซลน้อย เมื่อขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ขึ้นจะทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ

หลักการของกราฟิกแบบ Vector เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน แยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง รูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพไม่ลดลง
ซึ่งการแสดงผลของกราฟิกแบบ Vector จะดีกว่าของ Raster




สีและแสงที่ใช้ในงานกราฟิก

            องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้งานออกแบบนั้นมีความสวยงาม และมีคุณค่าเป็นที่น่าสนใจคืองานกราฟิกที่มีสีเป็นส่วนประกอบในงานนั้นๆ สีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิกจะไม่เหมือนกับสีที่เราเห็นโดยทั่วไปความแตกต่างกันตรงนี้เป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้งานของเราที่ออกแบบไว้ที่เห็นบนจอภาพของคอมพิวเตอร์กับภาพที่เห็นจากการพิมพ์แตกต่างกัน     สำหรับสีในงานคอมพิวเตอร์กราฟิก มีรูปแบบการให้แสงและการสะท้อนแสงซึ่งมีวิธีดังที่ได้เรียนในเรื่องระบบของสีนั้น เราพอจะอธิบายถึงระบบสีที่เกิดขึ้นในคอมพิวเตอร์ได้คือ ระบบสี Additiveและ ระบบสี Subtractive สีจากจอภาพของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์สร้างสีโดยการ เปล่งแสงออกมาจากหลอดภาพโดยตรงและใช้ระบบสี RGB ดังนั้น ถ้าเรามองไปที่จอคอมพิวเตอร์ ใกล้มากๆในขณะที่เปิดอยู่จะเห็นจอคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วยจุดเล็กๆของสีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน                                          
                        คอมพิวเตอร์สามารถควบคุมปริมาณของแสงที่เปล่งออกมาในแต่ละจุดสี โดยการรวมค่าที่แตกต่างกันของ RGB เพื่อใช้ในการสร้างสี เนื่องจากว่าจุดนั้นเล็กเกินที่จะเห็นแต่ละจุดแยกกันตาของเราจึงมองเห็นการรวมกันของสีทั้ง 3 เป็นค่าเดียว เช่น ถ้าคอมพิวเตอร์เปิดอยู่และมีทั้ง 3 สี ตาของเรา จะเห็นรวมกันเป็นสีขาว ถ้ามีเพียงบางจุดที่เปิดอยู่ ไม่ได้เปิดสีพร้อมกันทั้งหมด  ตาของเราจะเห็นเป็นสีผสมต่างๆ กันมากมาก ระบบสีRGB เป็นระบบที่ใช้กันทั่วไปในจอคอมพิวเตอร์ระบบนี้เป็นระบบที่ทำงานได้ดีและมองดูเป็นธรรมชาติ และเนื่องจากว่าฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์มีผลต่อการทำงานเกี่ยวกับสี บางครั้งระบบ RGB ก็มีข้อเสียเหมือนกัน เพราะสีที่ปรากฏในจอคอมพิวเตอร์เมื่อทำการสั่งพิมพ์ออกมาจะทำให้สีมีการผิดเพี้ยนเกิดขึ้น เนื่องจากระบบการพิมพ์ใช้ระบบ CMYK              การแปลงจากระบบ RGB ไปเป็นระบบ CMYK มีปัญหาที่ควรระวัง คือ การที่สีเปลี่ยนจากสีหนึ่งไปเป็นอีกสีหนึ่ง ให้ระลึกเสมอว่าระบบ RGB ต้นกำเนิดมาจากการเปล่งแสง แต่ระบบ CMYK ต้นกำเนิดมาจากการสะท้อนแสงซึ่งธรรมชาติการกำเนิดแสงต่างกัน แต่โดยส่วนใหญ่ระบบคอมพิวเตอร์ก่อนพิมพ์จะทำหน้าที่เปลี่ยนไฟล์RGB เป็นไฟล์ CMYKสำหรับการพิมพ์ตามที่เราต้องการ
                        ปัจจุบันมีซอฟแวร์ที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ทำงานโดยตรงกับสี CMYK ซึ่งเป็นข้อดีของกราฟิกแบบบิตแมป ในขณะที่โปรแกรมกราฟิกแบบเวกเตอร์มีความสามารถด้านหนึ่งแต่กราฟิกแบบบิตแมปก็มีความสามารถอีกด้านหนึ่ง คือมีการให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับสี และควบคุมลักษณะภาพที่จะปรากฏในขณะพิมพ์
สรุป : คอมพิวเตอร์สร้างสีโดยการ เปล่งแสงออกมาจากหลอดภาพโดยตรงและใช้ระบบสี RGB และสามารถควบคุมปริมาณของแสงที่เปล่งออกมาในแต่ละจุดสี โดยการรวมค่าที่แตกต่างกันของ RGB เพื่อใช้ในการสร้างสี เนื่องจากว่าจุดนั้นเล็กเกินที่จะเห็นแต่ละจุดแยกกันตาของเราจึงมองเห็นการรวมกันของสีทั้ง 3 เป็นค่าเดียว เช่น ถ้าคอมพิวเตอร์เปิดอยู่และมีทั้ง 3 สี ตาของเรา จะเห็นรวมกันเป็นสีขาว ถ้ามีเพียงบางจุดที่เปิดอยู่ ไม่ได้เปิดสีพร้อมกันทั้งหมด  ตาของเราจะเห็นเป็นสีผสมต่างๆ กันมากมาก ระบบสีRGB เป็นระบบที่ใช้กันทั่วไปในจอคอมพิวเตอร์ระบบนี้เป็นระบบที่ทำงานได้ดีและมองดูเป็นธรรมชาติ

แหล่งอ้างอิง : http://gpd-work.blogspot.com/2011/10/blog-post_6426.html

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก

     ไฟล์กราฟิกมีรูปแบบอยู่ 3 ไฟล์ คือ
1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว 
2.ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้บน Internet ใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก จะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกนและต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
3.ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)


ไฟล์กราฟิก มี 2 ชนิด คือ 
1.กราฟิกแบบ Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
              ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit  คือสีสมจริง
ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD  สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ Paintbrush, PhotoShop, Photostyler
2.กราฟิกแบบ Vectorเป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic
        ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap 
ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง




สรุป : ไฟล์กราฟิกมีรูปแบบอยู่ 3 ไฟล์ 1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง
2.ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) ใช่ในกรณีภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก จะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกนและต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต
3.ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)

ส่วนไฟล์กราฟิก มี 2 ชนิด คือ 1. 1.กราฟิกแบบ Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพหากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
2.กราฟิกแบบ Vector มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน


แหล่งอ้างอิง : http://por2228.exteen.com/20111026/entry-8

การประยุกต์ใช้งานกราฟิก

      การประยุกต์ใช้งานของกราฟิกนั้น เราสามารถประยุกต์ได้หลายรูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับว่า เราจะนำไปใช้ในวัตถุประสงค์ใด  ได้แก่

-การประยุกต์ใช้งานกราฟิกด้านการศึกษา

-การประยุกต์ใช้งานกราฟิกด้านการออกแบบ

-การประยุกต์ใช้งานกราฟิกด้านภาพยนตร์

-การประยุกต์ใช้งานกราฟิกด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

สรุป : การนำงานกราฟิกไปประยุกต์นั้น เราสามารถนำไปประยุกต์ได้เองหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการนำไปประยุกต์

แหล่งอ้างอิง : http://gpd-work.blogspot.com/2011/10/blog-post_5575.html